วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันสงกรานต์



วันสงกรานต์

วันสงกรานต์ (เขมร: សង្រ្កាន្, ลาว: ສົງການภาษาจีน 宋干ภาษาญี่ปุ่นソンクランの日ภาษาเกาหลี송크란의 ) เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ


กิจกรรมในวันสงกรานต์

-         ­การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วยการรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
-         การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย
-         การบังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล
-         การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
-         การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
-         การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
-         การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด

การจัดการความรู้



การจัดการความรู้

การจัดการความรู้คือ กระบวนการที่เป็นเครื่องมือหรือวิธีการเพิ่มมูลค่าหรือคุณค่าของกิจการขององค์กร กลุ่มบุคคล หรือเครือข่ายของกลุ่มบุคคลหรือองค์กรการจัดการความรู้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การนำ ความรู้มา จัดการแต่มีความหมายจำเพาะและลึกซึ้งกว่านั้นมาก
การจัดการความรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมแลกระบวนการต่อไปนี้
การขุดค้นและรวบรวมความรู้ คัดเลือกเอาไว้เฉพาะความรู้ที่จำเป็นสำหรับการใช้ประโยชน์ ทั้งจากภายในองค์กรและจากภายนอกองค์กร นำมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และความเหมาะสมกับบริบทของสังคมและขององค์กร ถ้าไม่เหมาะสมก็ดำเนินการปรับปรุง
การจัดหมวดหมู่ความรู้ ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
การจัดเก็บ ความรู้ เพื่อให้ค้นหาได้ง่าย
การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้
การจัดกิจกรรมและกระบวนการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อยกระดับความรู้
การสร้างความรู้ใหม่
การประยุกต์ใช้ความรู้
การเรียนรู้จากการใช้ความรู้
การจัดการความรู้เริ่มที่ปณิธานความมุ่งมั่น (purpose) อันยิ่งใหญ่ร่วมกันของสมาชิกขององค์กร กลุ่มบุคคล หรือเครือข่าย ที่จะร่วมกันใช้ความเพียรดำเนินการจัดการความรู้ ด้วยวิธีการและยุทธศาสตร์อันหลากหลาย เพื่อใช้ความรู้เป็นพลังหลักในการบรรลุเป้าหมายตามความมุ่งมั่น เพื่อประโยชน์ขององค์กร กลุ่มบุคคล เครือข่าย และยังประโยชน์อันไพศาลให้แก่สังคมในวงกว้างด้วย
การจัดการความรู้มีความหมายกว้างกว่าการจัดการสารสนเทศ กว้างกว่าการจัดการข้อมูล และกว้างกว่าการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้ จะต้องมีการจัดการครบทั้ง 3 องค์ประกอบของความรู้คือ ความรู้ฝังลึกในคน ความรู้แฝงในองค์กร และความรู้เปิดเผย รวมทั้งจะต้องมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนากิจกรรมหลัก (core activities) ขององค์กร กลุ่มบุคคล หรือเครือข่าย
การจัดการความรู้ จะต้องดำเนินการในลักษณะที่บูรณาการอยู่ในกิจกรรมหรืองานประจำ ไม่ถือเป็นกิจกรรมที่แยกจากงานประจำ ต้องดำเนินการโดยไม่ทำให้สมาชิกขององค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น
การจัดการความรู้เน้นการดำเนินการเกี่ยวกับคนในองค์กร กลุ่มบุคคล หรือเครือข่าย ผลของการจัดการความรู้วัดจากผลงาน วัฒนธรรมองค์กร สินทรัพย์ทางปัญญาขององค์กร และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมหรือการปรับตัวขององค์กร
การจัดการความรู้ มีทั้งการจัดการความรู้ที่ดี และการจัดการความรู้ที่เลว การจัดการความรู้ที่ดีมีลักษณะลงทุนน้อย แต่ได้ผลกระทบมาก การจัดการความรู้ที่เลว เป็นการจัดการความรู้ที่ได้ผลไม่คุ้มค่าการลงทุน
พื้นฐานสำคัญต่อความสามารถในการจัดการความรู้ คือ ความเป็นองค์กรเรียนรู้ (Learning organization) หรือ
องค์กรเคออร์ดิก (chaordic organization) และการที่สมาชิกขององค์กรเป็นบุคคลเรียนรู้ (learning person)
ในเรื่องการจัดการความรู้ ไม่มีสิ่งใดหรือหลักการใดสำคัญยิ่งกว่าจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กลุ่ม
ผู้ดำเนินการจัดการความรู้จะต้องมั่นใจที่จะใช้จินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อการจัดการความรู้อย่างเต็มที่มีความเป็นอิสระที่จะคิด มีความมั่นใจที่จะคิด และนำความคิดมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดร่วมกันผ่านการกระทำ เพื่อเป้าหมายบรรลุความมุ่งมั่นที่กำหนดร่วมกันในภาพกว้าง การจัดการความรู้จะต้องเชื่อมโยงกับกิจกรรมเกี่ยวกับความรู้ที่หลากหลาย เช่น การสร้างความรู้(วิจัย) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม การศึกษา การพัฒนาคน วัฒนธรรมการเรียนรู้

องค์ประกอบของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรข้อมูล (data) เป็นข้อสนเทศ (information) แปรข้อสนเทศเป็นความรู้ (knowledge) และใช้ความรู้เพื่อปฏิบัติการ (action) โดยที่ไม่หยุดอยู่แค่ระดับความรู้ แต่จะยกระดับไปถึงปัญญา (wisdom) คุณค่า ความดี ความงาม
ในระดับของข้อมูล มีการบันทึกข้อมูลจากการทำงาน มีการค้นหาหรือขุดค้น (mining) รวบรวมข้อมูล นำมาตรวจสอบกรองเอาไว้เฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือและสำคัญต่องานขององค์กร นำมาจัดหมวดหมู่เพื่อให้ประมวลเป็นข้อมูลได้ง่าย จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ ให้ค้นหาได้ง่าย นำไปสู่การจัดบริการข้อมูล มีกิจกรรมเพื่อถ่ายทอด
และแลกเปลี่ยนข้อมูล
กระบวนการแปรหรือประมวลข้อมูลไปเป็นข้อสนเทศ ประกอบด้วย การกรองเอาไว้เฉพาะข้อมูลที่แม่นยำ และเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น นำมาตีความ หรือจัดรูปแบบ (pattern) ภายใต้กรอบบริบท (context) ของเรื่องนั้น ๆ
ในระดับข้อสนเทศ มีการเลือก จัดหมวดหมู่ จัดหีบห่อ (ให้เหมาะและยวนใจผู้ใช้) จัดเก็บ ให้บริการ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยน และนำไปใช้ประโยชน์
กระบวนการแปรข้อสนเทศไปเป็นความรู้ เป็นกระบวนการภายในคน และกระบวนการระหว่างคน โดยนำข้อสนเทศมาตีความ เปรียบเทียบ ตามบริบทขององค์กร เป้าหมายขององค์กร และสิ่งแวดล้อมขององค์กร ได้เป็นความรู้โดยที่ความรู้นั้นอาจมีพลังในระดับของการทำนายในระดับความรู้ มีการดำเนินการส่งเสริมหรือสร้างเงื่อนไข ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge sharing)ภายในองค์กร ไม่มีการปิดบังความรู้ มีการยกระดับความรู้ให้ลึกซึ้งหรือเชื่อมโยงยิ่งขึ้น อาจยกระดับขึ้นไปถึงความเข้าใจในกระบวนทัศน์ใหม่ มีการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ประกอบการกำหนดนโยบาย, ประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางใด
แนวทางหนึ่งในหลาย ๆ ทางเลือก หรือใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จสมความมุ่งหมาย แล้วเกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากการกระทำนั้น (เกิดปัญญา) และภาคีผู้มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ได้รับผลจากความสำเร็จและเกิดปิติสุข
เมื่อมีการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อกิจการใดกิจการหนึ่ง ก็มีการสังเกตและเก็บข้อมูลจากกิจกรรมนั้น นำไปแปรเป็นข้อสนเทศ และความรู้ สำหรับนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลงานที่ดียิ่งขึ้น เป็นวัฏจักรหมุนเวียน ไม่รู้จบ เป็นวัฏจักรแห่งการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการและปัญญา
การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือพัฒนาผลงานของบุคคล องค์กร เครือข่าย และพัฒนาสังคมในภาพรวมในยุคสังคม-เศรษฐกิจบนฐานความรู้
การจัดการความรู้มีอยู่แล้วตามธรรมชาติในทุกคน ทุกองค์กร ทุกเครือข่าย และทุกสังคม แต่เป็นการจัดการความรู้ที่ทำโดยไม่มีระบบแบบแผน ขาดพลัง

ธุรกิจเบื้องต้น




ธุรกิจเบื้องต้น
ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
        ธุรกิจ (Business) หมายถึง  กระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์เป็นระบบและอย่างต่อเนื่องในด้านการผลิต  การซื้อขายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าและบริการ  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้กำไรหรือผลตอบแทนจากกิจกรรมนั้น
        ดังนั้น   อาจกล่าวได้ว่า   กิจกรรมใดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้กำไร (Profit)  ถือว่าเป็นธุรกิจ เช่น   บริษัท   ห้างร้าน   ตลอดจนรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ การดำเนินของรัฐ  เช่น  การป้องกันประเทศ  การสร้างถนนหนทาง   และอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจเพราะมิได้มีจุดมุ่งหมายด้านกำไร  แต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชนโดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

     ความสำคัญของธุรกิจ  พอสรุปได้ดังนี้
      1. ธุรกิจช่วยให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง
       2. ธุรกิจทำให้ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
      3. ธุรกิจทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น
      4. ธุรกิจช่วยแก้ปัญหาทางสังคม
      5. ธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

หน้าที่และความรับผิดชอบของธุรกิจ
        หน้าที่ของธุรกิจ
        การประกอบธุรกิจนั้นผู้ประกอบการจะต้องทำหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี  หน้าที่ต่าง ๆ ของธุรกิจมีดังนี้
       1. การผลิตสินค้า  ธุรกิจอาจเลือกผลิตสินค้าหลายชนิด  เช่น ผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป
       2. การให้บริการ  เป็นธุรกิจที่อำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภค
      3. การจำแนกแจกจ่ายสินค้า  ธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขาย
      4. การจัดซื้อ  ธุรกิจจำเป็นต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อการดำเนินการ
      5. การเก็บรักษาสินค้า  ธุรกิจจะต้องเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพื่อบริการให้แก่ลูกค้า
      6. การจัดจำหน่าย  ธุรกิจมีหน้าที่จัดแสดงสินค้าเพื่อง่ายต่อการซื้อ
      7. การจัดการทางการเงิน  ธุรกิจมีหน้าที่จัดหาเงินทุนและบริหารเงินทุนที่มีจำนวนจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
      8.  การจัดทำบัญชี  ธุรกิจมีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อเสียภาษี
     9.  การทำการโฆษณาสินค้า  ธุรกิจมีหน้าที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้าและเกิดการตัดสินใจซื้อในที่สุด
ความรับผิดชอบของธุรกิจ
       ธุรกิจมีฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม  จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อบุคคล  หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังจ่อไปนี้
      1. ความรับผิดชอบต่อเจ้าของกิจการ  ดำเนินธุรกิจให้เกิดกำไรสูงสุด
      2. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า  การให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด
     3. ความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐ
     4. ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง  ในด้านสวัสดิการของลูกจ้าง
     5. ความรับผิดชอบต่อสังคม  โดยให้สังคมได้รับประโยชน์ตามสมควร

จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจ
        จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจ  คือ  ต้องการให้ได้กำไรมากที่สุด (Maximized Profit)  ซึ่งต่างจากการดำเนินงานของหน่วยราชการ
และองค์การกุศล  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการแก่ประชาชน  โดยไม่หวังผลตอบแทน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจ
        ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจสามารถแยกได้ 2 ลักษณะคือ
       1. ปัจจัยภายใน  หรือทรัพยากรของธุรกิจเป็นปัจจัยที่ธุรกิจ  สามารถสร้างขึ้นและสามารถควบคุมได้  ได้แก่
           คน (Man)         หมายถึง  กำลังคน
           เงิน (Money)     หมายถึง  เงินทุน
           วัสดุ (Meterial)  หมายถึง  กระบวนการต่าง ๆ เช่น การวางแผน  การจัดองค์การ ฯลฯ
        2.  ปัจจัยภายนอก  เป็นปัจจัยที่ธุรกิจไม่สามารถจะควบคุมกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่  สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  เช่น  ภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ กฎหมายการเมือง  คู่แข่ง  เทคโนโลยี ฯลฯ
           

การรับน้อง



ประวัติการรับน้อง

รับน้อง หรือ กิจกรรมต้อนรับนักเรียนหรือนักศึกษาใหม่ คือ กิจกรรมที่นิสิตรวมถึงนักศึกษาหรือนักเรียนรุ่นพี่ จัดขึ้นสำหรับ นักศึกษาใหม่ที่เข้ารับการศึกษา เป้าหมายเพื่อทำให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ของสถานศึกษานั้น และเรียนรู้วิธีการประพฤติปฏิบัติตัวในสังคมสถานศึกษานั้น ในขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจากการประพฤติตัว ไม่เหมาะสมของรุ่นพี่ในการใช้อำนาจที่ไม่ถูก ทำให้มีการถกเถียงกันในสังคมไทย
ในหลายสถาบันได้มีการจัดการรับน้องภายในช่วงระหว่างเปิดการศึกษา ตั้งแต่ช่วงก่อนเปิดการศึกษาจนถึงหนึ่งเดือนภายหลังจากวันแรกที่เปิดการศึกษา
ปัจจุบันการรับน้องในประเทศไทยถูกกล่าวถึงว่าใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย

ประวัติการรับน้องในประเทศไทย
ประวัติรับน้องในประเทศไทยเริ่มจากในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างคณะแพทยศาสตร์กับคณะวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2474 ได้มีเหตุการณ์ไม่งามเกิดขึ้น คือ แบ็คของคณะแพทยศาสตร์ได้ถูกผู้เล่นในทีมตรงข้ามวิ่งเข้าต่อย ซึ่งสโมสรสาขาศิริราชสืบทราบว่าได้มีการตระเตรียมวางแผนการไว้ก่อนแล้ว จึงได้ส่งหลักฐานฟ้องร้องไปทางสโมสรกลางให้จัดการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดนั้น ต่อมา ได้มีการพิจารณาและไต่สวนกันหลายครั้ง แต่ในที่สุดบรรยเวกษ์ก็ได้อะลุ่มอล่วยให้เลิกแล้วกันไป นิสิตแพทย์ส่วนมากไม่พอใจ เนื่องด้วยนิสสิตคณะวิทยาศาสตร์บางส่วนจะต้องข้ามมาเรียนปีสองที่คณะแพทยศาสตร์ จึงได้มีเสียงหมายมั่นจะแก้มือด้วยประการต่าง ๆ ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่าจะต้องรู้ไปถึงหูพวกที่เป็นต้นเหตุนั้น แต่ครั้นใกล้เวลาที่พวกใหม่จะต้องมาเรียนที่ศิริราช คณะกรรมการสโมสรสาขาศิริราชได้มีความเห็นว่า การแก้แค้นจะทำให้แตกความสามัคคี ดังนั้นชาวศิริราชจึงได้ตกลงเลือกทางกุศล คือ แทนที่จะใช้วิธีการบีบบังคับให้ขอขมา กลับจัดการเลี้ยงต้อนรับเป็นการแสดงการให้อภัยและเชื่อมความสามัคคีแทน
พิธียกโทษกลายมาเป็นประเพณีประจำคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาคือประเพณีรับน้องข้ามฟากของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และได้ขยายวงกว้างออกไปยังหมู่คณะอื่น ๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ความเจริญมีมากขึ้นตามจำนวนปีที่ผ่านไป การต้องรับนิสสิตใหม่ได้แปรรูปตามไปด้วย ทำให้งานนี้ได้กลายเป็นโอกาสสำหรับโอ่อ่าและประกวดประขันกันต่าง ๆ
ส่วนกำเนิดการรับน้องแบบรุนแรงหรือระบบว๊ากสำหรับประเทศไทยซึ่งคนไทยทั่วไปเข้าใจว่าเป็น "ระบบโซตัส" มาจากโรงเรียนป่าไม้ภาคเหนือหรือวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งกลายเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน รับระบบนี้มาใช้เป็นแห่งแรก โดยอาจารย์ในยุคบุกเบิกส่วนใหญ่ที่จบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมลอสบานยอส (Los Baños)ที่เป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ได้นำระบบว๊ากถ่ายทอดให้กับนิสิตนักศึกษา นอกจากนี้อาจารย์บางท่านก็ถูกส่งไปถึงมหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (Oregon State University) และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University ) ที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นต้นฉบับของระบบว๊าก ประเพณีที่ว่านี้ก็คงติดตัวท่านเหล่านั้นเข้ามาเช่นกัน ต่อมาในปี พ.ศ.2486 เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในช่วงแรกนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับนิสิตจากวิทยาลัยเกษตรกรรมเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบบว๊ากจึงถูกใช้ในการรับน้องด้วย
ผู้ที่นำระบบการกดดันรุ่นน้องเข้ามาคิดว่าเทคนิคกดดันกลั่นแกล้งเหล่านี้เป็นการละลายพฤติกรรม ลดทอนความต่างของฐานะให้นิสิตใหม่รู้สึกเท่าเทียม มีความรักสามัคคี ซึ่ง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้พูดถึงที่มาของระบบว๊ากในหนังสือ "หนุ่มหน่ายคัมภีร์" ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ โดยให้ภาพการถ่ายทอดประเพณีการรับน้องจากสหรัฐอเมริกาสู่ไทยโดยผ่านมาทางฟิลิปปินส์ว่า "ตัวอย่างของการที่ประเพณีประเภทนี้แผ่ขยายเข้ามาในเมืองไทยจะเห็นได้ชัดในกรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือประเพณีการคลุกโคลนปีนเสา...เห็นได้ชัดในอดีตอันแสนไกลของมหาวิทยาลัยคอร์แนล...ภาพเก่าๆ เกี่ยวกับอดีตของคอร์แนลมักจะมีรูปการปีนเสาทรมานแบบนี้ แต่นั่นก็ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ประเพณีการปีนเสานี้ก็ได้แผ่ขยายไปยังฟิลิปปินส์ ในสมัยนั้นฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกาอยู่ และคอร์แนลก็ได้มีส่วนร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ คอร์แนลมีคณะเกษตรที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง ดังนั้นจึงได้เข้ามามีส่วนช่วยสร้างวิทยาลัยเกษตรที่ลอสบันยอส ประเพณีการปีนเสาก็ถูกถ่ายเทจากมหาวิทยาลัยเมืองแม่มายังมหาวิทยาลัยอาณานิคม" จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยรับระบบการรับน้องแบบว๊ากในช่วงที่การรับน้องแบบนี้ยังเป็นที่นิยมในสหรัฐและฟิลิปปินส์อยู่

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

ห้องสมุดยุคใหม่ E-library




ห้องสมุดยุคใหม่ E-library


ลักษณะของห้องสมุดยุคใหม่ในบทบาทของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่
                 1.       มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนิน
งานของห้องสมุดทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และ ด้านการบริการผู้ใช้
                 2.       มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติในการจัดการงานด้านต่าง ๆของห้องสมุด ได้แก่ งานจัดหา
งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ   งานบริการยืม - คืน  งานสืบค้นข้อมูล    และ   งานด้านวารสาร     
                 3.       มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอล ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เสียง
และภาพเคลื่อนไหว   โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูล   ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย    และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย
                 4.        มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ  การค้นหา และ การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2545 :  95 )
                 5.       มีการให้บริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน ผู้ใช้สามารถที่จะเปิดอ่านข้อมูล
พร้อมๆ กัน ได้ในเวลาเดียวกัน ต่างสถานที่กัน โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                 6.       ผู้ใช้สามารถที่จะใช้ข้อมูลได้โดยตรง เป็นเนื้อหาเต็มรูปแบบ โดยไม่ต้องมาที่อาคารห้อง
สมุด เนื่องจากสามารถเปิดอ่านได้โดย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


         อาจอง กีระพันธ์ (อ้างใน วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543 : 2)    ได้กล่าวถึง   บรรณารักษ์ว่าเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
                  1.       เป็นตัวกลางหรือสื่อกลาง    ที่จะทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกด้วยการ
เป็นผู้จัดระบบอย่างดีไว้ให้ผู้ใช้
                  2.   เป็นเหมือนครูแนะแนวการอ่าน  หรือ    แนะนำวิธีการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบแก้ปัญหาได้
อย่างถูกต้อง
                  3. เป็นแพทย์  หรือ  พยาบาลที่ช่วยขจัดปัญหา หรือ รักษาผู้ใช้ที่ต้องการความรู้ในทุกรูปแบบ
                  4.   เป็นภัณฑรักษ์  ที่อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ   และเผยแพร่วัฒนธรรมอันเป็นสมบัติ
ทางสติปัญญาของมนุษย์ให้กระจายไป เป็นการสืบทอดสู่คนรุ่นใหม่สืบเนื่องจากห้องสมุดมีการพัฒนาไปตามสภาพปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทาง


เทคโนโลยีสารสนเทศของโลกยุคข่าวสาร บรรณารักษ์จึงต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนี้
                1. เป็นนักจัดการ    บรรณารักษ์ต้องมีความรู้ในด้านการจัดการ การคัดเลือกข้อมูล ที่เหมาะสมตรง กับความต้องการของผู้ใช้
                2. เป็นผู้ให้คำปรึกษา   บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากข้อมูลในยุคสารสนเทศมีเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการแนะนำแหล่งใช้บริการข้อมูลที่ทันสมัย แก่ผู้ใช้บริการ
                3. เป็นผู้ให้คำแนะนำ   บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้แนะนำการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะต้องมีการแนะนำวิธีการใช้ การสืบค้นข้อมูล เป็นต้น
                4. เป็นนักบริหาร บรรณารักษ์ต้องรู้จักบริหารห้องสมุดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่ผู้ใช้นึกถึงเป็นอันดับแรกในการเข้าใช้ เนื่องจากในปัจจุบัน มีสถานที่ต่าง ๆ มากมายที่เป็นแหล่งดึงดูดความสนใจของผู้คนให้ไปเข้าใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า   แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้บริการนอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินแล้ว ยัง ได้รับความรู้อีกด้วย เช่น ห้างสรรพสินค้าบางแห่งมีการจัดห้องสมุดไว้ในภาย เช่น TK Park อุทยานการเรียนรู้ ณ เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า ชั้น 6 หรือ อุทยานสัตว์น้ำ Siam Ocean World ที่สยามพารากอน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสถานที่เหล่านี้ ดึงดูดความสนใจของผู้คนได้
ไม่น้อย ดังนั้นห้องสมุดซึ่งเป็นสถานที่หนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้ความรู้ จะต้องมีการบริหารจัดการให้ห้องสมุด มีความแตกต่างไปจากเดิม ให้ทัศนคติเกี่ยวกับห้องสมุด จากที่เคยเป็นแหล่งวิชาการล้วนๆ เป็นแหล่งที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น ให้เปลี่ยนไปในรูปแบบที่ผู้ใช้เกิดความรู้สึกว่า การได้เข้าไปใช้ห้องสมุด ก็ได้รับความรู้ และ ความบันเทิง ไม่แพ้ห้างสรรพสินค้า หรือ แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ โดยบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารจัดการให้ห้องสมุด กลายเป็นห้องสมุดมีชีวิต ขึ้นมา
                5. มีความรู้ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ บรรณารักษ์ต้องรู้จักใช้เครื่องมือ และสารสนเทศทุกรูปแบบโดยเฉพาะสื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคพัฒนาไร้พรมแดน ซึ่งเป็นโลกข่าวสารที่บรรณารักษ์ จะต้องเสนอให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีความทันสมัย
                6. เป็นนักวิจัย และประเมินผลงาน บรรณารักษ์ ไม่มีหน้าที่บริการเท่านั้น จำเป็นต้องเป็นนักวิจัยด้วย เพื่อจะได้นำผลวิจัยมาปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงงานให้ทันสมัย และตอบสนองความต้องาการของผู้ใช้ ตลอดจนรู้จักประเมินผลงาน ทั้งส่วนตัวและของผู้ร่วมงานเพื่อการพัฒนางานให้มีคุณภาพ(วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543 :  4)
                7.  เป็นนักพัฒนา บรรณารักษ์ ต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์    รวมถึงการพัฒนาตนเองให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงาน ให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
                8.เป็นนักการตลาด บทบาทของบรรณารักษ์ในปัจจุบันจะต้อง เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการเชิงรุก      แทนการตอบสนองผู้ใช้ในเชิงรับ    โดยบรรณารักษ์จะต้องรู้ความต้องการของผู้ใช้
ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร แล้วดำเนินการจัดหามาให้บริการแก่ผู้ใช้ และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการใช้บริการ เพื่อให้ห้องสมุด เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญที่อยู่ในใจของผู้ใช้เสมอ
                9. เป็นนักบูรณการ บรรณารักษ์ต้องมีความสามารถในการนำความรู้มาผสมผสานกับระบบ เทคโนโลยี และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด
                จากความเจริญก้าวหน้าของโลกที่ดำเนินต่อเนื่องไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้ ห้องสมุดในฐานะแหล่งความรู้สาธารณะที่สำคัญแห่งหนึ่ง ต้องมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน เพื่อให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการดำเนินงานของห้องสมุด เพื่อให้กระบวนการทำงานลดความซ้ำซ้อนลง มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น   มีการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบใหม่ที่อยู่ในรูปของดิจิตอล โดยผู้ ใช้สามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงเนื้อหาเต็มรูปแบบ โดยไม่ต้องมาที่อาคารของห้องสมุด  เป็นต้น นอกจากนี้บรรณารักษ์ผู้ทำงานในห้องสมุด ก็ต้องมีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะให้คำปรึกษา คำแนะนำแก่ผู้ใช้ ให้ผู้ใช้ได้สิ่งที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งห้องสมุดจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในโลกของยุคเทคโนโลยี สารสนเทศก็จะต้องมีการพัฒนาไปพร้อมกันทั้งระบบงานของห้องสมุดและตัว บรรณารักษ์เอง


ห้องสมุดมีชีวิต 

ความหมาย
           ห้องสมุดที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ มีหนังสือที่อยากอ่าน มีกิจกรรมที่อยากทำ ได้เห็นสิ่งที่อยากเห็น และมีบรรยากาศที่เป็นใจ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

องค์ประกอบของห้องสมุดมีชีวิต
  • องค์ความรู้ ( Knowledge ) ประกอบด้วย ข้อมูลสารสนเทศ ทั้งที่เป็นข้อมูลประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ครบถ้วน ตามความต้องการ
  • สภาพแวดล้อม ( Environment ) พื้นที่ห้องสมุด มีการจัดมุมความรู้ มุมบริการ และมุมกิจกรรมต่าง ๆ สอดคล้องและเหมาะสม ที่นั่งอ่าน บรรยากาศสบาย เป็นกันเอง
  • ระบบเทคโนโลยี ( Technology ) มีระบบจัดการและบริการโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยค้นได้สะดวก รวดเร็ว เช่น การลงทะเบียน การยืม - ส่งหนังสือ การค้นหาหนังสือต่าง ๆ เป็นต้น
  • บรรณารักษ์ / ผู้ให้บริการ ( People ) มีใจรักในการให้บริการ มีอัธยาศัยไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใสและมีความสุขในการทำงาน
  • ระบบ ( System ) มีการจัดระบบองค์ความรู้ให้เป็นระบบและช่องทางในการเข้าถึงบริการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมดนตรีในห้องสมุด การจัดมุมดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่าง ๆ เป็นสัดส่วนและเอื้ออำนวยแก่ผู้ใช้บริการ

เป้าหมายของการจัดห้องสมุดมีชีวิต
  • มีสารสนเทศ เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ
  • ผู้ใช้บริการและผู้บริการ มีความสุข
  • มีความสนุก สะดวก สบาย ในการใช้ห้องสมุด
  • มีความใกล้ชิดกับชุมชน

วิธีทำให้ห้องสมุดมีชีวิต
  • มี นโยบาย แผนงาน / โครงการที่ชัดเจน
  • มีการบริหารจัดการ ในเรื่องของ งบประมาณ / บุคลากร / วัสดุครุภัณฑ์ / ระบบงานและเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างเป็นระบบ
  • มีการจัดบริการ / จัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านที่หลากหลาย เป็นประจำ
  • มีมุมต่าง ๆ เช่น มุมสบาย มุมแนะนำหนังสือใหม่ มุมนิทรรศการ มุมเพลง มุมเกม มุมดูหนัง มุมอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
  • มีการประชาสัมพันธ์

บทบาทของสถานศึกษาในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้มีชีวิต
  • กำหนดนโยบายการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้ชัดเจน
  • ดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ
  • ศึกษา / สำรวจสภาพห้องสมุดโรงเรียนเพื่อพัฒนาให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต
  • จัดทำแผนงาน / โครงการพัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิต
  • จัดบุคลากรในการดำเนินงานเต็มเวลา เช่น เจ้าหน้าที่ห้องสมุด บรรณารักษ์ ฯลฯ
  • จัดครูผู้จัดกิจกรรมรักการอ่านประจำวัน (แยกเป็นสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ) หมุนเวียนสลับกันไปจัด ในห้องสมุดโรงเรียน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ฯลฯ
  • ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ
  • ประเมินผลการดำเนินงาน ภายในสถานศึกษาและร่วมประเมินการดำเนินงานกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน และขยายผลไปยังสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป

           ห้องสมุดมีชีวิต ยังคงมีหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์  แต่ต้องทำให้ "ตัวหนังสือ" เป็นเสียง เป็นภาพ ผสมผสานให้ลงตัวรวมทั้ง อาคารสถานที่ควรดูสดใส บรรยากาศที่เอื้อต่อความมีชีวิต

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ




ขั้นตอนการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ และสื่อโสตทัศน์ สื่อมัลติมีเดีย)
1  ฝ่ายห้องสมุด สำนักวิทยบริการ
- ติดต่อร้านค้า บริษัท และศูนย์หนังสือ
หรือรวบรวมรายการจากเว็บไซต์เพื่อนำรายการ
ดังกล่าวให้อาจารย์คัดเลือก
- แยกรายการหนังสือและสำเนารายการ
หนังสือตามสาขาวิชา
- ทำบันทึกข้อความขอเชิญคัดเลือกหนังสือ
- เสนอหัวหน้าฝ่ายฯ ตรวจสอบเอกสาร
(5วัน)
2  สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ
- งานธุรการรับเรื่อง
- เลขาสำนักฯ ตรวจสอบเอกสาร และ
เสนอผอ.ลงนาม
- ผอ.ลงนาม
- งานธุรการส่งเรื่อง
(2 วัน)
3  สำนักงานเลขานุการคณะ
- งานธุรการรับเรื่อง
- เลขาคณะเสนอคณบดี
- คณาจารย์คัดเลือกและเสนอรายการ
หนังสือเพิ่มเติม
- งานธุรการส่งเรื่อง
(20 วัน)
4  ฝ่ายห้องสมุด สำนักวิทยบริการ
- ตรวจสอบรายการหนังสือที่คัดเลือกกับ
ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด
- พิมพ์รายการหนังสือที่สั่งซื้อ
- โทร / แฟกซ์แจ้งรายการหนังสือที่จะขอใบ
เสนอจากบริษัท ร้านค้า ศูนย์หนังสือ
- ดำเนินการตั้งเรื่อง แบบขอให้ซื้อหรือจ้าง
- เสนอหัวหน้าฝ่ายฯ ลงนาม
- ส่งเรื่อง แบบขอให้ซื้อหรือจ้างแก่เจ้าหน้าที่
พัสดุ
(3 วัน)
5  สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ
- งานธุรการรับเรื่อง
- เลขาสำนักฯ ตรวจสอบเอกสาร และส่งให้
เจ้าหน้าที่พัสดุ
(5วัน)
6  ฝ่ายห้องสมุด สำนักวิทยบริการ
- ตรวจรับหนังสือ
- ส่งงานลงทะเบียนหนังสือ
- แจ้งผลการจัดซื้อกับคณะต่าง ๆ
(5 วัน)
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 40 วัน (กรณีที่เป็นหนังสือภาษาไทย)
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 60 วัน (กรณีที่เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เพราะบริษัทต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ)


ขั้นตอนการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (วารสาร/นิตยสาร)
1  ฝ่ายห้องสมุด สำนักวิทยบริการ
- รวบรวมรายการวารสาร / นิตยสารที่ต่ออายุ
สมาชิก และสมัครสมาชิกใหม่
- ดำเนินการตั้งเรื่อง แบบขอให้ซื้อหรือจ้าง
- เสนอหัวหน้าฝ่ายฯ ตรวจสอบเอกสาร
(5 วัน)
2  สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ
- งานธุรการรับเรื่อง
- เลขาสำนักฯ ตรวจสอบเอกสาร และส่งให้
เจ้าหน้าที่พัสดุ
(5 วัน)
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 10 วัน


ขั้นตอนการจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อบริการ
กรณีที่ไม่มีสื่อประกอบ
กรณีที่มีสื่อประกอบ
1  รับหนังสือจากการจัดซื้อ/บริจาค
2 จัดเตรียมหนังสือ
- ประทับตราห้องสมุด 3 ด้าน
- ประทับตราเลขทะเบียน 3 ที่ คือ
ด้านหน้า ,ด้านหลัง และหน้าที่ 15
- ติดใบกำหนดส่ง
- ใส่แถบแม่เหล็ก
- ติดบาร์โค้ดและลามิเน็ต
- บันทึกข้อมูล
จัดเตรียมสื่อประกอบหนังสือ
- ติดบาร์โค้ดและลามิเน็ต
- ติดเลขทะเบียน
(20 นาที/รายการ)
3  ส่งหนังสือให้ฝ่ายวิเคราะห์
4 สำเนาสื่อประกอบหนังสือ
(0.30- 2 ชม./รายการ)
ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อหา
4 จัดเตรียมหนังสือ
- ประทับตราห้องสมุด
3 ด้าน
- ประทับตราเลข
ทะเบียน 3 ที่ คือ
ด้านหน้า ,ด้านหลัง และ
หน้าที่ 15
- ติดใบกำหนดส่ง
- ใส่แถบแม่เหล็ก
- ติดบาร์โค้ดและ
ลามิเน็ต
- บันทึกข้อมูล
(15 นาที/รายการ)
รวมระยะเวลาดำเนินงานทั้งสิ้น 35 นาที / เล่ม


ขั้นตอนลงทะเบียนวารสาร/นิตยสาร
1  รับวารสาร/นิตยสารจากฝ่ายกิจการนิสิต
(20 นาที)
2 ลงทะเบียนวารสาร / นิตยสาร
- ประทับตราห้องสมุด 6 ที่ ได้แก่
- ด้านข้างวารสาร 3 ด้าน
- หน้าปกใน
- หน้าที่ 45
- หน้าปกหลัง
- ติดแถบแม่เหล็ก
- ลงทะเบียนในฐานข้อมูล INNOPAC (Serail Module Control)
(5 นาที/รายการ)
3  ขึ้นชั้นให้บริการ
- นำฉบับใหม่ขึ้นชั้นบริการ
- เก็บฉบับเก่าไปไว้ที่ห้องเก็บวารสาร /
นิตยสาร
(5 นาที/รายการ)
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 30 นาที


ขั้นตอนการจัดเตรียมหนังสือพิมพ์ให้บริการ
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น : 5 วินาที / ฉบับ
1  ตรวจสอบและลงทะเบียน
(2 วินาที/ฉบับ)
2  ประทับตราห้องสมุด
(1 วินาที/ฉบับ)
3  ใส่ไม้แขวนให้บริการ
(2 วินาที/ฉบับ)


ขั้นตอนการจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อบริการ
กรณีที่ไม่มีสื่อประกอบ
กรณีที่มีสื่อประกอบ
1 รับหนังสือจากการจัดซื้อ/บริจาค
2 จัดเตรียมหนังสือ
-ประทับตราห้องสมุด 3 ด้าน
-ประทับตราเลขทะเบียน 3 ที่ คือ ด้านหน้า
,ด้านหลัง และหน้าที่15
-ติดใบกำหนดส่ง
-ใส่แถบแม่เหล็ก
-ติดบาร์โค้ดและลามิเน็ต
-บันทึกข้อมูล
จัดเตรียมสื่อประกอบหนังสือ
-ติดบาร์โค้ดและลามิเน็ต
-ติดเลขทะเบียน
(20นาที/รายการ)
3  ส่งหนังสือให้ฝ่ายวิเคราะห์
4 สำเนาสื่อประกอบหนังสือ
(2-0.30 ชม. / รายการ)
ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อหา
5  จัดเตรียมหนังสือ
-ประทับตราห้องสมุด 3
ด้าน
-ประทับตราเลขทะเบียน
3ที่ คือ ด้านหน้า,
ด้านหลัง และหน้าที่15
-ติดใบกำหนดส่ง
-ใส่แถบแม่เหล็ก
-ติดบาร์โค้ดและลามิเน็ต
-บันทึกข้อมูล
( 15นาที/รายการ)
รวมระยะเวลาดำเนินงานทั้งสิ้น 35 นาที / เล่ม

ขั้นตอนการจัดเตรียมสื่อโสตทัศน์เพื่อให้บริการ
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 45 นาที
1  รับสื่อโสตทัศน์จากการจัดซื้อ / บริจาค
(2 นาที)
2  จัดเตรียมสื่อโสตทัศน์
- ลงทะเบียน
- ติดบาร์โค๊ดและลามิเน็ท
- ติดเลขทะเบียนที่กล่องและคู่มือประกอบ
- สแกนปก
( 20 – 25 นาที/รายการ)
3  ส่งสื่อโสตทัศน์ให้งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
(5 นาที)
4 ส่งรายการสื่อโสตทัศน์ ให้เจ้าหน้าที่ระบบงาน
คอมพิวเตอร์ประชาสัมพันธ์บนเว็ปไซต์
(25 - 30 นาที)
5  จัดเก็บสื่อโสตทัศน์ขึ้นชั้นเพื่อให้บริการ
(3 นาที)
6  วิเคราะห์สื่อโสตทัศน์
- ลงรายการทางบรรณานุกรม
- กำหนดหัวเรื่อง
(20 – 30 นาที/รายการ)
7  จัดแสดงสื่อโสตทัศน์ที่น่าสนใจประจำเดือน
(10 นาที)

ขั้นตอนการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
1  ตรวจสอบรายการหนังสือ/ สื่อโสตทัศน์
ในฐานข้อมูล INNOPAC
(1 นาที/เล่ม)
2  วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
- ลงรายการบรรณานุกรมและบันทึกข้อมูลใน
ฐานข้อมูล ในฐานข้อมูล INNOPAC
- กำหนดหัวเรื่อง
- กำหนดหมวดหมู่หนังสือ
(20-35 นาที/เล่ม)
3  ดำเนินการเชื่อมโยงบาร์โค้ดหนังสือ/
สื่อโสตทัศน์แต่ละเล่มกับรายการบรรณานุกรม
(5 นาที/เล่ม)
กรณีมีรายการทรัพยากร
สารสนเทศ
4  พิมพ์เลขเรียกหนังสือเพื่อติดสัน
หนังสือ
(5 นาที/เล่ม)
5  ส่งหนังสือให้งานบริการยืม-คืน
นำขึ้นชั้นเพื่อให้บริการ
(5 นาที/เล่ม)
กรณีไม่มีรายการทรัพยากร
สารสนเทศ
6  ดำเนินการเชื่อมโยงบาร์โค้ดหนังสือ/
สื่อโสตทัศน์แต่ละเล่มกับรายการบรรณานุกรม
(5 นาที/เล่ม)
7  พิมพ์เลขเรียกหนังสือเพื่อติดสันหนังสือ
(5 นาที/เล่ม)
8  เตรียมหนังสือเพื่อให้บริการ
- ติดเลขเรียกหนังสือ
- ห่อปกหนังสือ
(5 นาที/เล่ม)
9  เตรียมหนังสือเพื่อให้บริการ
- ติดเลขเรียกหนังสือ
- ห่อปกหนังสือ
(5 นาที/เล่ม)
10  ส่งหนังสือให้งานบริการยืม-คืน
นำขึ้นชั้นเพื่อให้บริการ
(5 นาที/เล่ม)
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น
- กรณีมีรายการทรัพยากรในฐานข้อมูล INNOPAC 21 นาที/เล่ม
- กรณีไม่มีรายการทรัพยากรในฐานข้อมูล INNOPAC 41-56 นาที/
เล่ม

ขั้นตอนการจัดทำดรรชนีวารสาร
1  กำหนดหัวเรื่องแต่ละบทความ
2  ลงรายการและบันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรม
ลงในฐานข้อมูล INNOPAC
(10 นาที/บทความ)
(10 นาที/บทความ)
3  ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลดรรชนีวารสาร
ในฐานข้อมูล INNOPAC
(5 นาที/บทความ)
4  บริการสืบค้นผ่านเว็บไซต์ห้องสมุด
ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้ทันที
(2 นาที/บทความ)
(15 นาที/บทความ)
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น : 42นาที/บทความ
5  พิจารณาคัดเลือกบทความ
(10 นาที/บทความ)

ขั้นตอนการจัดแสดงหนังสือใหม่
รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 19 นาที/เล่ม
1  คัดเลือกหนังสือ
- พิมพ์บรรณานิทัศน์
- สแกนหน้าปกหนังสือ
(15 นาที / เล่ม)
2  ส่งไฟล์ข้อมูลให้เจ้าหน้าที่
ระบบคอมพิวเตอร์ (2 นาที)
3  เก็บหนังสือเก่าและวางหนังสือ
ใหม่บนชั้นแสดงหนังสือใหม่
(2 นาที/เล่ม)