วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

สถาบันบริการสารสนเทศ

               
  สถาบันบริการสารสนเทศ   

      สถาบันบริการสารสนเทศ คือ  แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น
สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ 
                    สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  สถาบันบริการสารสนเทศแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ในทันทีที่สถาบันบริการสารสนเทศได้รับทรัพยากรสารสนเทศ  หรือทราบว่ามาสารนิเทศนั้นเกิดขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2541:353)
                    สรุปได้ว่า  “สถาบันบริการสารสนเทศ”  คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม



   ตัวอย่าง  สถาบันบริการสารสนเทศ

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
     รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ

http://www.medplant.mahidol.ac.th




สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินงานอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2522 จากการริเริ่มของ ศ. ประดิษฐ์ หุตางกรู คณบดีในขณะนั้น และมี รศ.ดร. นันทวัน บุณยะประภัศร เป็นหัวหน้า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศ.นพ. ณัฐ ภมรมนตรี และ ศ.นพ. ประเวศ วะสี ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดีและรองอธิการบดี ต่อมาได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาสังกัดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมา พ.ศ.2538 มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ทำความตกลงร่วมมือจัดตั้ง "หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร ณ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร" มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลสมุนไพรจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้บริการสืบค้น และวิเคราะห์ข้อมูลสมุนไพรแก่หน่วยงานราชการ/เอกชน/นักวิจัย/นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เผยแพร่ความรู้ด้านสมุนไพรในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม แผ่นพับ สไลด์ วิดีโอ ซีดีรอม โปสเตอร์ จุลสาร วารสาร หนังสือเกี่ยวกับสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย


ฐานข้อมูล PHARM (MedPlant Online)

ฐานข้อมูล PHARM คือฐานข้อมูลสมุนไพรไทย ในการร่วมมือกับสำนักงานข้อมูลสมุนไพร (MPIC) คณะของเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่รวบรวมงานวิจัยสมุนไพร โดยครอบคลุมพืชสมุนไพรจำนวนมากกว่า 1,157 ชนิด โดยมีนักวิชาการด้านสมุนไพร คัดกรองข้อมูลงานวิจัยและแบ่งข้อมูลตามคุณสมบัติทางชีวภาพหรือทางเคมี ซึ่งรวมทั้งวารสารที่ถูกตีพิมพ์ในไทย โครงการพิเศษและรายงานการวิจัยที่จัดแสดงและดำเนินการประชุม โดยผู้สนใจสามารถเข้าฐานข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานฯ


การสืบค้นข้อมูลในสำนักงานฯ

ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลสมุนไพร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งแยกตามการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณพื้นบ้าน การศึกษาทางเคมี ข้อมูลดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในไมโครฟิลม์ โดยผลการสืบค้นจะปรากฎเป็นรายงานซึ่งประกอบด้วยชื่อสามัญ ชื่อท้องถิ่น ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพ้อง และสรรพคุณพื้นบ้าน การศึกษาทางเคมีและการศึกษาทางเภสัชวิทยา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิลม์


นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถขอรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมุนไพรได้ดังนี้
1.
โดยติดต่อกับบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง พร้อมกับสามารถขอรายละเอียดเพิ่มได้
2.
สามารถติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ 02354-4327 หรือ 02644-8677-91 ต่อ 5316, 5305 แฟกซ์ 02354-4327
3.
สามารถติดต่อทางจดหมายได้ตามที่อยู่ดังต่อไปนี้

หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
447 ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ 10400


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น